คำที่ไม่สื่อความหมาย / หัวข้อ / ฉันได้รับข้อความที่ไม่ชอบมาพากล
ในกรณีที่มีการดาวน์โหลดไฟล์เข้ามาในอุปกรณ์ของคุณ อุปกรณ์ของคุณอาจกำลังตกอยู่ในความเสี่ยง! โปรดติดต่อองค์กรด้านล่างที่สามารถช่วยเหลือคุณได้ หลังจากนั้น โปรด ส่งข้อความไม่ชอบมาพากลที่คุณได้รับ ไปให้องค์กรนั้น :
ข้อแนะนำเพิ่มเติม
กฎข้อแรกที่ต้องจำไว้: อย่าให้ข้อมูลส่วนตัวใดๆในอีเมลเด็ดขาด ไม่มีสถาบัน ธนาคาร หรือใครก็ตามที่จะขอข้อมูลเหล่านี้ผ่านทางอีเมล มันอาจไม่ใช่เรื่องง่ายเสมอไปที่จะระบุว่าอีเมลหรือเว็บไซต์เป็นของจริงหรือไม่ แต่ต่อไปนี้คือเคล็ดลับบางข้อที่สามารถช่วยคุณประเมินอีเมลที่คุณได้รับมาได้
- ความเร่งด่วน: โดยปกติ อีเมลที่ไม่ชอบมาพากลมักแจ้งเตือนเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของบัญชีอย่างกระทันหันและขอให้คุณดำเนินการโดยทันทีเพื่อยืนยันตัวตนสำหรับบัญชีของคุณ
- ในเนื้อความของอีเมล คุณอาจพบคำถามที่ขอให้คุณ “ยืนยันตัวตน” หรือ “อัพเดทบัญชีของคุณ” หรือแจ้งว่า “การไม่อัพเดทข้อมูลของคุณจะทำให้บัญชีถูกระงับชั่วคราว” ตามปกติ คุณมักสามารถทึกทักไปได้เลยว่า ไม่มีองค์กรที่น่าเชื่อถือใดๆที่คุณได้ให้ข้อมูลของคุณไปแล้วที่จะมาขอให้คุณกรอกข้อมูลซ้ำอีกครั้ง ดังนั้น อย่าตกหลุมพรางนี้
- ระวังข้อความ สิ่งที่แนบมา ลิงก์ หรือหน้าเว็บเข้าสู่ระบบอันไม่พึงประสงค์
- สังเกตดูจุดผิดพลาดในการสะกดคำหรือไวยากรณ์ให้ดี
- คลิ๊กเพื่อดูชื่อเต็มของที่อยู่ผู้ส่ง ไม่ใช่แค่ชื่อที่ใช้แสดง
- ระวังลิงก์ที่ถูกย่อให้สั้น - อาจมีลิงก์ซ้อนที่อันตรายอยู่เบื้องหลัง
- เมื่อคุณเคลื่อนเม้าส์ไปที่ลิงก์ URL ของจริงซึ่งจะเป็นหน้าเว็บที่มันจะพาคุณไปจะปรากฏ โดยเด้งขึ้นมาหรืออยู่ด้านล่างหน้าต่างบราวเซอร์ของคุณ
- หัวเรื่องอีเมล รวมไปถึงค่าของส่วนที่เขียนว่า “จาก:” อาจถูกจัดฉากขึ้นอย่างระมัดระวังเพื่อให้ดูเหมือนเป็นของจริง คุณสามารถตรวจสอบหัวเรื่องของ SPF และ DKIM ได้เพื่อให้ทราบว่า ที่อยู่ IP นั้นได้รับอนุญาต (หรือไม่ได้รับอนุญาต) ให้ส่งอีเมลในนามของโดเมนผู้ส่ง และตรวจสอบว่าหัวเรื่องหรือเนื้อหาถูกเปลี่ยนระหว่างทางหรือไม่ ในอีเมลของจริง ค่าของ SPF และ DKIM ควรจะขึ้นเป็น 'PASS' เสมอ มิฉะนั้น อีเมลนั้นถือว่าไม่น่าเชื่อถือ เหตุผลคือว่า อีเมลนั้นมีถูกปลอมแปลงขึ้น หรือในกรณีที่หายาก เซิร์ฟเวอร์ของอีเมลอาจไม่ได้รับการกำหนดค่าอย่างถูกต้อง
- ลายเซ็นดิจิทัล สามารถบอกเราได้ว่าอีเมลนั้นส่งมาจากผู้ส่งตัวจริงและว่าอีเมลนั้นถูกดังแปลงระหว่างทางหรือไม่ หากอีเมลนั้นมีการเซ็นชื่อลงท้าย ให้ตรวจสอบว่าลายเซ็นนั้นได้รับการรับรองว่าเป็นของแท้จริงหรือไม่ คุณจำเป็นต้องใช้ OpenPGP และกุญแจสาธารณะที่เชื่อมต่อกับ ID ในลายเซ็นในข้อความนั้นเพื่อตรวจสอบลายเซ็น โปรแกรมจัดการอีเมลสมัยใหม่ส่วนใหญ่ที่สามารถรองรับลายเซ็นดิจิทัลจะช่วยตรวจสอบให้คุณโดยอัตโนมัติและบอกคุณผ่านส่วนต่อประสานกับผู้ใช้งานว่าลายเซ็นนั้นเป็นของแท้หรือไม่
- บัญชีที่ถูกรุกล้ำสามารถปล่อยอีเมลหรือข้อความอันตราย ที่อาจสามารถหลุดรอดการตรวจสอบเงื่อนไขดังที่กล่าวไปด้านบนและดูเหมือนเป็นของจริง อย่างไรก็ตาม เนื้อหาของข้อความก็จะยังไม่ชอบมาพากล หากเนื้อความของอีเมลดูแปลกประหลาด คุณอาจควรตรวจสอบกับผู้ส่งตัวจริงผ่านช่องทางการสื่อสารอื่นก่อนจะดำเนินการใดๆ
- หนึ่งในแนวทางการปฏิบัติที่ดีคือ การอ่านและเขียนอีเมลแบบ Plain Text อีเมลแบบ HTML อาจมีการซ่อนรหัสหรือ URL ที่อันตรายเอาไว้ คุณสามารถหาวิธีการหยุดการใช้การ HTML ในโปรแกรมจัดการอีเมลต่างๆ ได้ที่ โพสต์นี้
- ใช้ระบบปฏิบัติการแบบใหม่ล่าสุดในโทรศัพท์มือถือหรือคอมพิวเตอร์ของคุณ ตรวจสอบเวอร์ชั่นต่างๆสำหรับ: Android, iOS, macOS and Windows).
- อัพเดทระบบปฏิบัติการของคุณและแอปพลิเคชัน/โปรแกรมทั้งหมดที่คุณติดตั้ง โดยเฉพาะอันที่เป็นเครื่องมือรับข้อมูลข่าวสาร (บราวเซอร์ การส่งข้อความ หรือแอปพลิเคชัน/โปรแกรมสำหรับแชท) ให้เร็วที่สุดเท่าที่ทำได้ ลบแอปพลิเคชัน/โปรแกรมทั้งหมดที่คุณไม่จำเป็นต้องใช้
- ใช้บราวเซอร์ที่น่าไว้วางใจ (เช่น Mozilla Firefox) เพิ่มความปลอดภัยของบราวเซอร์ของคุณด้วยการตรวจสอบส่วนต่อขยาย (Extensions) หรือส่วนเสริม (Add-ons) ที่ติดตั้งอยู่ในบราวเซอร์ของคุณ เก็บไว้เพียงโปรแกรมที่คุณเชื่อ (ยกตัวอย่างเช่น HTTPS Everywhere, Privacy Badger, uBlock Origin, Facebook Container, Cookie AutoDelete, NoScript).
- บันทึกข้อมูลของคุณเพื่อสำรองไว้อย่างปลอดภัยอยู่เป็นประจำ
- ปกป้องบัญชีของคุณด้วยรหัสผ่านที่แข็งแกร่ง ระบบยืนยันตัวตนสองขั้นตอน และการตั้งค่าที่ปลอดภัย
ทรัพยากร
นี่เป็นแหล่งข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อช่วยให้บ่งชี้ข้อความที่ไม่ชอบมาพากลและหลีกเลี่ยงการถูกหลอกล่อ